วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

การเทียบศักราช

   หลักเกณฑ์การเทียบศักราช





        ศักราช หมายถึง อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆศักราชที่นิยมใช้กันและที่สามารถพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แก่ 

        พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานซึ่งแต่เดิมนับเอาวันเพ็ญเดือนหก เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมาเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มนับตามแบบสากล คือ วันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483.เป็นต้นมา 


        คริสต์ ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิด เป็นค.ศ. 1 ซึ่งในขณะนั้นได้มีการใช้ พุทธศักราชเป็นเวลาถึง 543 ปีแล้ว การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุริยคติ ดังนั้นวันขึ้น ปีใหม่ของค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี 


        มหาศักราช (ม.ศ.) เริ่มนับเมื่อพระระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครอง คันธาระราฐของอินเดียทรงคิดค้นขึ้น ภายหลังได้เผยแพร่เข้าสู่บริเวณสุวรรณภูมิและประเทศไทย ผ่านทางพวกพราหมณ์และพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบนี้ 


        จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน" ลึกออกจากการเป็นพระ เพื่อชิงราชบัลลังก์ในสมัยพุกามอาณาจักรการนับเดือน ปี ของ จ.ศ. จะเป็นแบบจันทรคติ โดยถือวันขึ้น1ค่ำเดือน5เป็นวันขึ้นปีใหม่ 


       รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือ วันที่ 1 เมษายน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6)ได้ยกเลิกการใช้ร.ศ. 


       ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม เริ่มนับเมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด กระทำฮิจเราะห์ (Higra แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ อพยพจากเมืองเมกกะ ไปอยู่ที่เมืองเมดินะ เป็นปีเริ่มต้นของศักราชอิสลาม


        การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่างของอายุศักราชแต่ละศักราชมาบวกหรือลบศักราขที่เราต้องการ ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

ม.ศ. + 621  = พ.ศ. 
พ.ศ. - 621   = ม.ศ. 
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. 
พ.ศ. - 1181 = จ.ศ. 
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. 
พ.ศ. - 2324 = ร.ศ. 
ค.ศ. + 543 = พ.ศ.
พ.ศ. - 543  = ค.ศ. 
ฮ.ศ. + 621  = ค.ศ. 
ค.ศ. - 621   = ฮ.ศ. 
ฮ.ศ. + 1164 = พ.ศ. 
พ.ศ. - 1164 = ฮ.ศ. 

       ปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมาก คือ คริสต์ศักราชและพุทธศักราช เมื่อเปรียบเทียบศักราช ทั้งสองต้องใช้ 543 บวกหรือลบแล้วแต่กรณี ถ้าเทียบได้คล่องจะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย หรือสากลได้ง่ายขึ้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น