วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์




        กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 
1) วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
3) จิตวิทยาศาสตร์ 

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 

        วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ ศาสตร์ จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และเพื่อแก้ปัญหา แต่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์นำมาใช้แต่ละคนมีขั้นตอนที่แตกต่างกันบางคนแบ่งเป็น 4 ขั้น บางคนแบ่งเป็น 5 ขั้น และบางคนแบ่งเป็น 6 ขั้น ซึ่งในการจัดขั้นต่าง ๆ ก็มีการสลับลำดับกันบ้าง เช่น 

ขั้นที่ 1. การสังเกต รวมทั้งการบันทึกข้อมูล 

ขั้นที่ 2. การตั้งสมมติฐาน 
ขั้นที่ 3. การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน 
ขั้นที่ 4. การสรุปผล 

อีกแบบหนึ่ง มีผู้แบ่งไว้ 5 ขั้น คือ 

ขั้นที่ 1. ตั้งปัญหา 
ขั้นที่ 2. เก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อเท็จจริง 
ขั้นที่ 3. สร้างสมมติฐาน 
ขั้นที่ 4. ทดลองพิสูจน์ 
ขั้นที่ 5. สรุปผล 

        อย่างไรก็ตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ยังมีผู้แบ่งเป็น 6 ขั้น ก็มี แต่พบว่าประเด็นที่สำคัญจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จะแตกต่างกันเฉพาะในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น 


        กระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโลกยุคใหม่ จะต้องสนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริง สัมผัสจริง มีกระบวนการสำรวจ ทดลอง ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ แลกเปลี่ยนความเห็น ทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าแสดงออก ใช้วิธีการและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 


        ดังนั้น นักศึกษาจะเริ่มต้นด้วยการสังเกตข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือในสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วใช้ความคิดเชิงตรรกที่เรียกว่าอุปนัย สรุปรวมเป็นสมมติฐานหรือทฤษฎี จากนั้นใช้ความคิดเชิงตรรกอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าการนิรนัย ไปทำนายหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น 


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความชำนาญและความสามารถในการใช้ การคิดและกระบวนการคิดเพื่อค้นหาความรู้ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ กระบวนการคิดและเรียนรู้รวมทั้งการจินตนาการเป็นผลของการคิดเฉพาะด้านและร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเจริญรวดเร็วในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงอายุ 7 – 12 ปี สมองส่วนนี้คิดเชิงวิเคราะห์ สร้างมโนทัศน์และภาษา ส่วนสมองซีกขวาเจริญในอัตราสูงและเด่นชัดในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ทำหน้าที่คิดเชิงจินตนาการ สร้างสรรค์ สังเคราะห์และความคิดเชิงเทียบเคียง การส่งเสริมกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นการรับรู้โดยผ่านระบบประสาทสัมผัสทุกระบบ กระตุ้นการคิดของสมองทั้งการคิดพื้นฐานทุกกระบวนการคิด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความจำและภาษา หรือความคิดเชิงพหุปัญญาของสมองทั้งรายคนและแบบกลุ่ม จัดกิจกรรมที่ยั่วยุ ท้าทายการคิดค้น ของระบบประสาทและสมอง ครูต้องเตรียมกิจกรรมการสอนอย่างหลากหลาย เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้สมองคิด เตรียมสื่ออุปกรณ์ให้เพียงพอ เรียนร่วมกับเด็ก เพื่อศึกษาแบบการเรียนรู้ของเด็ก ครูคิดหาเทคนิคการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ เสมอ 

        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นหัวใจที่สำคัญของกระบวนการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งแบ่งออกเป็น 13 ทักษะด้วยกัน คือ 


        สมาคมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ( American Association for the Advancement of Science-AAAS) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ทั้งสิ้น 13 ทักษะ โดยจัดแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ


       ทักษะพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้น ( Basic Science Process Skill) ประกอบด้วย 8 ทักษะ ได้แก่ ทักษะที่ 1-8

       ทักษะขั้นบูรณาการ หรือ ทักษะขั้นสูง ( Intergrated Science Process Skill) ประกอบด้วย 5 ทักษะ ได้แก่ ทักษะที่ 9-13

ฟุตบอลโลก2014

2014 World Cup









รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพ บราซิล
วันที่ 12 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม
ทีม 32 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถานที่ 12 (ใน 12 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศ เยอรมนี (สมัยที่ 4)
รองชนะเลิศ อันดับ 1 อาร์เจนตินา
รองชนะเลิศ อันดับ 2 เนเธอร์แลนด์
รองชนะเลิศ อันดับ 3 บราซิล
สถิติการแข่งขัน
จำนวนการแข่งขัน 64
จำนวนประตู 171 (2.67 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม 3,429,873 (53,592 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุด ดากกกก
(6 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยม เลียวเนล เมสซี
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม มานูเอล นอยเออร์
ผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ปอล ปอกบา

        ฟุตบอลโลก 2014 (อังกฤษ: 2014 FIFA World Cup; โปรตุเกส: Copa do Mundo da FIFA 2014) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกชาติระดับประเทศ ครั้งที่ 20 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน–13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 นี่เป็นครั้งที่สองที่บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว โดยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งต่อจากประเทศเม็กซิโก ประเทศอิตาลี ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี นับตั้งแต่ฟุตบอลโลกปี พ.ศ. 2521 ที่ประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันนอกทวีปยุโรปสองครั้งติดต่อกัน และเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันในซีกโลกใต้ติดต่อกันสองครั้ง (ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลโลก 2010 จัดในประเทศแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ ฟีฟ่าก็จะใช้เทคโนโลยีโกลไลน์เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย

        ตั๋วของการแข่งขันเปิดขายตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จำนวนประมาณ 3.3 ล้านใบ ผ่านเว็บไซต์ของฟีฟ่า


การคัดเลือกเจ้าภาพ

       
       วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2546 ฟีฟ่าได้ประกาศว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกจะจัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งนับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 ในอาร์เจนตินา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะหมุนเวียนสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันไปตามสหพันธ์ฟุตบอลต่าง ๆ ต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (คอนเมบอล) ได้แจ้งว่าอาร์เจนตินา บราซิล และโคลอมเบียมีความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้าย และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2547 คอนเมบอลได้ลงมติเอกฉันท์ให้บราซิลเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้

        บราซิลได้ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 และโคลอมเบียได้ประกาศในวันถัดมา ส่วนอาร์เจนตินาไม่มีการประกาศเสนอตัว โดยในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550 โคลอมเบียได้ขอถอนตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งฟรันซิสโก ซานโตส กัลเดรอน รองประธานาธิบดีโคลอมเบียกล่าวว่าโคลอมเบียจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกชุดอายุไม่เกิน 20 ปี ใน พ.ศ. 2554 แทน ทำให้เหลือเพียงบราซิลประเทศเดียวที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้

        บราซิลชนะการคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 โดยงานประกาศนั้นมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในฐานะที่เป็นประเทศเดียวที่เสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน


รอบคัดเลือก

        การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เพื่อให้เหลือเพียง 32 ทีมในรอบสุดท้าย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นทีมชาติเดียว ที่เข้ารอบสุดท้ายเป็นครั้งแรก ส่วนยูเครนคือทีมที่มีอันดับโลกสูงสุด(อันดับที่ 16)ที่ไม่ผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย

        อนึ่ง เมื่อแข่งขันรอบคัดเลือกเสร็จสิ้น ฟีฟ่ายังกำหนดให้มี การแข่งขันรอบแพ้คัดออก (play-off) เพื่อเลือกทีมชาติเข้ารอบสุดท้ายอีกชั้นหนึ่ง โดยในคราวนี้จัดเป็นสองคู่ แต่ละคู่ใช้ระบบเหย้า-เยือน ประกอบด้วย อันดับที่ 5 จากโซนเอเชีย พบกับ อันดับที่ 5 จากโซนอเมริกาใต้ (โซนอเมริกาใต้ชนะ) และอีกคู่หนึ่งคือ อันดับที่ 4 จากโซนคอนคาแคฟ พบกับ ทีมชนะเลิศจากโซนโอเชียเนีย (โซนคอนคาแคฟชนะ)




วันแข่งขัน
การแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสัปดาห์หลังจากที่การแข่งขันฟุตบอลลีกในทวีปยุโรปปิดฤดูกาลลง และยังตรงกับช่วงฤดูหนาวของประเทศในเขตกึ่งร้อนอย่างบราซิลอีกด้วย

สถานที่แข่งขัน

        เมือง 17 เมืองที่สนใจจะเข้ารับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ ได้แก่ เบเลง, เบโลโอรีซอนตี, บราซีเลีย, กัมปูกรันดี, กุยาบา, กูรีตีบา, โฟลเรียนอโปลิส, ฟอร์ตาเลซา, โกยาเนีย, มาเนาส์, นาตาล, โปร์ตูอาเลเกร, เรซีฟี, โอลิงดา (สนามจะเป็นสนามที่ใช้ร่วมกัน 2 เมือง), รีโอบรังโก, รีโอเดจาเนโร, ซัลวาดอร์ และเซาเปาลูส่วนมาเซโอได้ถอนตัวไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552

        ตามกฎของฟีฟ่า ห้ามมีเมืองที่ใช้แข่งขันเกิน 1 สนาม และจำนวนของเมืองเจ้าภาพต้องอยู่ระหว่าง 8–10 เมือง โดยสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (เซเบเอฟี) ได้ยื่นคำขอที่จะใช้เมืองเจ้าภาพ 12 เมืองในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งนี้ ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ฟีฟ่าได้อนุมัติแผนการใช้เมืองเจ้าภาพที่มากถึง 12 เมือง

        ก่อนหน้าที่จะมีการคัดเลือกตัดสินเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพ มีการสงสัยกันว่า สนามที่จะได้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศคงเป็นสนามมารากานังในเมืองรีโอเดจาเนโร ซึ่งเคยเป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1950 ระหว่างอุรุกวัยกับบราซิลมาแล้ว แต่เดิมสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลตั้งใจจะจัดการแข่งขันนัดเปิดสนามที่สนามโมรุงบีในเมืองเซาเปาลูซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สนามโมรุงบีถูกตัดชื่อออกเนื่องจากไม่สามารถวางเงินประกันการปรับปรุงสนามให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ ต่อมาในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 สมาคมฟุตบอลบราซิลได้ประกาศให้ใช้อาเรนาโกริงชังส์จัดการแข่งขันในเซาเปาลู

        เมือง 12 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เมืองเบเลง, กัมปูกรันดี, โฟลเรียนอโปลิส, โกยาเนีย และรีโอบรังโกถูกตัดออก เกินครึ่งของเมืองที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องปรับปรุงสนามหรือสร้างสนามขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ในขณะที่สนามในกรุงบราซีเลียจะถูกทุบและสร้างขึ้นใหม่ ส่วนอีกห้าเมืองก็กำลังปรับปรุงสนามของตนเอง



การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้าย
        การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2014 จัดขึ้นที่กอสตาดูเซาอีปีรีสอร์ต เมืองมาตาจีเซาโฌเอา รัฐบาเยีย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC –3)


รอบแบ่งกลุ่ม
        ตารางการแข่งขันได้รับการประกาศจากสำนักงานใหญ่ฟีฟ่าที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมาธิการจัดการแข่งขันได้ประกาศเวลาที่จะใช้แข่งขันในแต่ละเมือง โดยการแข่งขันนัดเปิดสนามจะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน ที่เมืองเซาเปาลู เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแบ่งกลุ่มจะแข่งขันเวลา 13.00 น., 16.00 น., 17.00 น., 18.00 น., 19.00 น. และ 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแพ้คัดออก (รอบน็อกเอาต์) จะทำการแข่งขันในเวลา 13.00 น. และ 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น รอบรองชนะเลิศจะทำการแข่งขันในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่สนามกีฬามารากานัง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

        เวลาทั้งหมดที่ระบุข้างล่างนี้เป็นเวลาท้องถิ่นบราซีเลีย (UTC –3) เป็นเขตเวลาของเมืองเจ้าภาพ 10 เมืองจากทั้งหมด 12 เมือง ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 10 ชั่วโมง ส่วนเมืองกุยาบาและมาเนาส์นั้นอยู่ในเขตเวลาแอมะซอน (UTC –4) หรือช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง ดังนั้น ตัวเลขเวลาการแข่งขันที่จัดขึ้นในเมืองทั้งสองจะช้ากว่าเวลาที่ระบุไว้ข้างล่างนี้หนึ่งชั่วโมง


สัญลักษณ์การแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 อย่างเป็นทางการ
        สัญลักษณ์ของการแข่งขันมีชื่อว่า อิงส์ปีราเซา (โปรตุเกส: Inspiração) แปลว่า "แรงบันดาลใจ" ออกแบบโดยบริษัทอาฟรีกาจากประเทศบราซิล ดัดแปลงมาจากภาพถ่ายเชิงสัญลักษณ์ของมือผู้ชนะ 3 มือกำลังชูถ้วยรางวัลฟุตบอลโลกอยู่ นอกจากจะถ่ายทอดแนวคิดมนุษยธรรมผ่านรูปมือที่สอดประสานกันแล้ว การลงสีรูปมือด้วยสีเหลืองและสีเขียวก็ยังเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงบราซิล ประเทศเจ้าภาพที่จะต้อนรับทุกประเทศอย่างอบอุ่นอีกด้วย ได้มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้

        ฟีฟ่าและคณะกรรมาธิการจัดฟุตบอลโลก 2014 ได้เชิญชวนบริษัท 25 แห่งในบราซิลให้เข้าร่วมประกวดออกแบบสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันครั้งนี้ โดยหน้าที่ในการคัดเลือกผู้ชนะเป็นของคณะกรรมการตัดสินที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียง 7 คนจากสาขาต่าง ๆ ได้แก่ รีการ์ดู เตย์เชย์รา ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล, เฌโรม วาลก์ เลขาธิการฟีฟ่า, จิเซล บุนเชน นางแบบชาวบราซิล, ออสการ์ นีเอไมเยร์ นักออกแบบสถาปัตยกรรม, เปาลู กูเอลยู นักเขียน, อีเวชี ซังกาลู นักร้อง และฮันส์ ดอนเนอร์ นักออกแบบ

        อาเลชังดรี วอลเนร์ นักออกแบบกราฟิกชาวบราซิล ได้วิจารณ์ว่าสัญลักษณ์นี้ดูคล้ายกับมือที่ปิดหน้าเพราะความอับอาย และยังวิจารณ์ถึงกระบวนการคัดเลือกสัญลักษณ์ด้วย ซึ่งกรรมการคัดเลือกนั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่นักออกแบบกราฟิกมืออาชีพ

โปสเตอร์
        โปสเตอร์อย่างเป็นทางการได้รับการเปิดตัวในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยทูตฟุตบอลโลกชาวบราซิล โรนัลโด, เบแบตู, มารีอู ซากาลู, อามาริลดู ตาวาริส ดา ซิลเวย์รา, การ์ลุส อัลเบร์ตู ตอริส รวมไปถึงมาร์ตา นักฟุตบอลหญิงชาวบราซิล โดยงานเปิดตัวจัดขึ้นในเมืองรีโอเดจาเนโร

        โปสเตอร์นั้นได้รับการออกแบบโดยคาเรน ไฮดิงเกอร์ เป็นนักออกแบบจากบริษัทกรามาในบราซิล โดยมีลักษณะเป็นแผนที่ประเทศบราซิลที่วาดขึ้นจากขาของนักฟุตบอลที่กำลังเตะลูกฟุตบอล นอกจากนี้ยังแสดงถึงวัฒนธรรมบราซิลและลักษณะเด่นอื่น ๆ ของชาติบราซิลเช่นพืชและสัตว์ท้องถิ่น สีสันที่สดใสของโปสเตอร์ก็สื่อถึงความงดงามและความหลากหลายของประเทศ เฌอโรม วาลก์ เลขาธิการฟีฟ่า กล่าวว่า โปสเตอร์ชิ้นนี้เป็นตัวอย่างงานศิลปะที่แสดงให้เห็นว่าบราซิลเป็นชาติที่มีความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์

ตุ๊กตาสัญลักษณ์

        อาร์มาดิลโลเป็นสัตว์ที่ปกป้องตัวเองด้วยการกลิ้งเหมือนกับลูกบอล ทำให้มันได้ถูกเลือกมาเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของการแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยฟีฟ่า และมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555  โดยมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยรายการข่าว ฟังตัสชีกู (Fantástico)  ส่วนชื่อนั้นได้รับการคัดเลือกจากผู้คนและได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งผู้คนถึง 1.7 ล้านคน และมากกว่าร้อยละ 48 เลือกชื่อ ฟูแลกู (Fuleco) ชนะชื่อ ซูแซกู (ร้อยละ 31) และอามีฌูบี (ร้อยละ 21) ทำให้ชื่อนี้ชนะอย่างเอกฉันท์ และตุ๊กตาสัญลักษณ์นี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวบราซิล ซึ่งชาวบราซิลมากกว่าร้อยละ 89 ชื่นชอบมัน

        "ฟูแลกู" มีความหมายโดยแบ่งแยกเป็นตัวอักษรเป็นภาษาโปรตุเกสคือ "Futebol" ("ฟุตบอล") และ "Ecologia" ("นิเวศวิทยา")

ลูกฟุตบอล

        ลูกฟุตบอลอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คือ อาดิดาส บราซูกา ซึ่งชื่อนั้นได้รับการคัดเลือกมากจากผู้ชมฟุตบอลชาวบราซิลมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่ง บราซูกา ได้รับการโหวตมากกว่าร้อยละ 70 โดยอาดิดาส ออกแบบลูกฟุตบอลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 เห็นถึงแรงบันดาลใจของวัฒนธรรมชาวบราซิลพลัดถิ่น ซึ่งชื่อนี้ชนะชื่อ บอสซาโนวา และ คาร์นาวาเลสกา

กาชีรอลา

        กาชีรอลา (caxirola) ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยกระทรวงกีฬาของประเทศบราซิลให้เป็นเครื่องดนตรีอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คล้ายกับวูวูเซลา ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยกาชีรอลาไม่ได้มีเสียงดังเหมือนกับวูวูเซลา และพวกมันได้รับการออกแบบมาพิเศษเพื่อให้ไม่ส่งเสียงรบกวนในสนามระหว่างการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยภายในสนาม กาชีรอลาจะถูกห้ามไม่ให้นำเข้าไปในสนามแข่งขัน

สิทธิการออกอากาศ
        ฟีฟ่ากำหนดให้สิทธิในการออกอากาศ ครอบคลุมไปยังวิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยฟีฟ่าเป็นผู้จัดจำหน่าย ให้แก่ผู้ประกอบการสื่อ ของแต่ละประเทศเองโดยตรง หรือผ่านบริษัทตัวแทนผู้รับอนุญาต หรือผ่านองค์กรต่างๆ เช่นสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (อีบียู), องค์การโทรทัศน์แห่งอเมริกากลางและใต้ (โอไอที), องค์การเนื้อหาสื่อสากล (ไอเอ็มซี), บริษัทโฆษณาเดนต์สุของญี่ปุ่น เป็นต้น โดยการจำหน่ายสิทธิเหล่านี้ คิดเป็นถึงร้อยละ 60 ของรายได้จากฟุตบอลโลกของฟีฟ่า

        สำหรับศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ ตั้งอยู่ที่รีอูเซงตรู (Riocentro) ในย่านบาร์ราดาชีฌูกา (Barra da Tijuca) ของนครรีโอเดจาเนโร ทั้งนี้ ฟีฟ่าจำหน่ายสิทธิในการออกอากาศ ให้แก่เครือข่ายโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซีกับไอทีวีของสหราชอาณาจักร, ซีซีทีวีของสาธารณรัฐประชาชนจีน, เอบีซีกับอีเอสพีเอ็นของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น


        ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่
สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนต์ จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ซึ่งอยู่ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือครองสิทธิแต่ผู้เดียว นับแต่ปี พ.ศ. 2549 และ 2553 โดยครั้งนี้ดำเนินการด้วยชื่อของอาร์เอส ผ่านช่องโทรทัศน์ระบบดาวเทียมของตน ซึ่งเปิดขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และทางฟีฟ่าอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า อาร์เอส-ฟีฟ่า เวิลด์คัพ แชนเนล (RS-FIFA World Cup Channel) โดยช่องดังกล่าวจะถ่ายทอดสด การแข่งขันครบทั้ง 64 นัดเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดบันทึกการแข่งขัน รวมถึงรายการต่างๆ ซึ่งทางฟีฟ่าผลิตขึ้น และจัดส่งให้แก่ผู้รับสิทธิทั่วโลกด้วย

        ซึ่งช่องรายการดังกล่าวสามารถรับชม ในระบบโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมซันบ็อกซ์ และกล่องบอลโลกดิจิทัลทีวี ของอาร์เอสเท่านั้น อนึ่ง อาร์เอสทำสัญญาอนุญาตให้พีเอสไอ ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม รับดำเนินการแพร่ภาพช่อง อาร์เอส-ฟีฟ่า เวิลด์คัพ แชนเนล คู่ขนานในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงด้วย นอกจากนี้ สำหรับการถ่ายทอดสด ผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน อาร์เอสมอบหมายให้ช่อง 8 ของตนเอง ซึ่งอยู่ในระบบดิจิทัล หมายเลข 27 ร่วมกับการทำสัญญาอนุญาต แก่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งอยู่ทั้งในระบบแอนะล็อก หมายเลข 7 และระบบดิจิทัล หมายเลข 35 เป็นจำนวนรวม 22 นัดการแข่งขัน

        สำหรับการออกอากาศผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาร์เอสทำสัญญาอนุญาต ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เป็นผู้ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันชื่อ เอไอเอสออนแอร์ (AIS On Air) ที่เปิดให้ดาวน์โหลด ผ่านแอพสโตร์ในระบบไอโอเอส และกูเกิลเพลย์ในระบบแอนดรอยด์ โดยจะต้องเป็นผู้ใช้บริการในระบบเอไอเอส ที่ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 199 บาทเท่านั้น[45] ซึ่งการถ่ายทอดสดในทุกช่องทาง จะไม่มีภาพยนตร์โฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน

        ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:30 น. ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้อาร์เอสบีเอส ไม่ต้องออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้ เฉพาะกับโทรทัศน์ซึ่งให้บริการเป็นการทั่วไป เนื่องจากเป็นการตกลงซื้อขายสิทธิ ก่อนประกาศดังกล่าวจะมีผลใชับังคับ ซึ่งเป็นการพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น[46] หลังจากนั้น เลขาธิการ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ แถลงว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ติดต่อมายังประธาน กสทช. พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี เพื่อแจ้งให้ทาง กสทช.ดำเนินการให้ประชาชน สามารถรับชมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้ ทั้งหมด 64 นัดผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ซึ่งให้บริการเป็นการทั่วไป (ฟรีทีวี) กสทช.จึงเชิญผู้แทนอาร์เอสบีเอส หารือแนวทางในการชดเชย

        โดยฝ่ายอาร์เอสบีเอส เสนอให้มีค่าชดเชยเป็นเงิน 766.515 ล้านบาท ซึ่งในวันต่อมา (12 มิถุนายน) คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) และคณะกรรมการ กสทช.ประชุมพิจารณาการชดเชยดังกล่าว โดยออกมติให้ใช้กองทุน กทปส.ชดเชยให้อาร์เอสบีเอส เป็นเงินไม่เกิน 427.015 ล้านบาทเมื่อสามารถตกลงกันได้แล้ว ในเวลา 15:30 น. จึงจัดแถลงข่าวการถ่ายทอดสดร่วมกัน ระหว่างสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (38 นัด), สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (29 นัด) และช่อง 8 ของอาร์เอส (56 นัด) โดยที่บางนัดมีถ่ายทอดสดมากกว่า 1 ช่องโทรทัศน์  มีรายงานข่าวด้วยว่า คสช.ประสานงานให้ ททบ.จัดเตรียมเวลาออกอากาศ เพื่อรองรับการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกดังกล่าว รวมกว่า 80 ชั่วโมง

        สำหรับผู้ต้องการชมถ่ายทอดสดการแข่งขันฯ ซึ่งเตรียมการไว้ก่อนหน้านี้ โดยซื้อกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของอาร์เอสไปแล้ว เมื่อสถานการณ์เป็นไปดังกล่าว จึงอาจส่งผลให้ผู้ชมกลุ่มนี้เกิดความรู้สึกว่า การลงทุนของตนเสียเปล่าหรือไม่ เป็นผลให้วันรุ่งขึ้น (13 มิถุนายน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาร์เอส สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ต้องเปิดแถลงข่าวในประเด็นดังกล่าว โดยอาร์เอสยังคงจำหน่าย กล่องบอลโลกดิจิทัลทีวีต่อไป เนื่องจากยังมีบริการอีกหลายอย่างที่คุ้มค่า แต่หากลูกค้าไม่ต้องการใช้กล่องฯ ดังกล่าวอีก อาร์เอสจะพิจารณาจ่ายค่าชดเชยเยียวยา โดยจะคืนเงินสูงสุดไม่เกิน 1,590 บาทต่อกล่องฯ ส่วนตัวยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ สำหรับเงินจากทาง กสทช.ไม่ใช่การซื้อสิทธิต่อ หากแต่เป็นค่าชดเชยการเสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าไม่คุ้มค่ากับส่วนที่เสียไป แต่ยังมั่นใจว่าจะไม่ขาดทุน

โครงสร้างพื้นฐาน
สนามแข่งขัน
        สมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล ได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงสนามแข่งขัน เป็นจำนวนเงินประมาณ 9.9 พันล้านเรอัลบราซิล (1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, 550 ล้านปอนด์) นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ต้องรองรับคนนับล้านที่จะเข้าร่วมชมการแข่งขันนี้

        เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน รีการ์ดู เตย์เชย์รา ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้กล่าวว่า "เราเป็นประเทศที่มีอารยะ ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพที่ดีเยี่ยมในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ดีที่สุด" ที่สำนักงานใหญ่ของฟีฟ่าในเมืองซูริก

ประวัติของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี

ประวัติของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี








คำขวัญ   รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ
ชื่ออังกฤษ Kanjanapisek Wittayalai Suphanburi School
อักษรย่อ กพ.สพ.
ประเภท โรงเรียนรัฐบาล สหศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย
ก่อตั้ง 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
เพลง มาร์ช - กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี


         โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งใน ๙ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาส งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 จัดตั้งโดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยถือเอาวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นวันสถาปนาโรงเรียน



        ปัจจุบันโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ได้มีการยกระดับให้ก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่นเดียวกับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อสนองตอบต่อนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในการพัฒนาเยาวชนให้สู่ความเป็นเลิศ ร่วมกับโรงเรียนกาญจนาภิเษกอีกทั้ง 8 แห่ง ซึ่งคณะทำงานในการยกระดับโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เสนอแผนโครงการ และ รมว.ศธ. ได้มอบให้ สพฐ. ได้ปรับใช้งบประมาณปี ๒๕๕๔ มาดำเนินการให้กับโรงเรียนในการปรับปรุงเบื้องต้น โรงเรียนละ ๕ ล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕-๒๕๖๑ ให้ สพฐ. ดำเนินการตามแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้จัดทำร่วมกัน



  



สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน



ตราประจำโรงเรียน พระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร.

ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ ต้นราชพฤกษ์
สีประจำโรงเรียน ได้แก่ เหลืองทอง-น้ำเงิน โดยที่
  สีเหลืองทอง หมายถึง สีประจำวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
  สีน้ำเงิน หมายถึง สีประจำพระมหากษัตริย์
คติพจน์พระราชทาน อกตํ ทุกตํ เสยโย ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
คำขวัญประจำโรงเรียน รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ


กาญจนาเกมส์

           ความเป็นมา การจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนได้กำหนดโครงการจัดการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษก วิทยาลัย "กาญจนาเกมส์" ขึ้นโดยมีเป้าหมายการพัฒนาการศึกษา ตามจุดเน้นของกลุ่มโรงเรียน นำไปสู่การพัฒนาด้านกีฬา ดนตรี และศิลปะ ให้กับนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน ให้สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นนักกีฬา นักดนตรี และศิลปะที่ดี มีศักยภาพสูงจนถึงระดับเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมการแข่งขันในระดับที่สูง ขึ้นต่อไป และเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ครู นักเรียนบุคลากรของแต่ละโรงเรียน ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียนตามเป้าหมาย และที่สำคัญการกีฬานับว่าเป็นกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักการอยู่ ร่วมกันในสังคม รู้จักเคารพกฎกติกา การมีน้ำใจนักกีฬา "รู้แพ้ รู้ชนะ และ รู้อภัย" เพื่อนักเรียนนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งเป็นผู้มีพระปรีชาสามารถด้านกีฬาและมีพระคุณอันประเสริฐต่อการศึกษาไทย นับอเนกประการและกลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬากาญจนาเกมส์มาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2543 โดยในครั้งนั้นโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพ


        กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ทั้ง 9 โรงเรียน จะมีการแข่งขันกีฬาประจำทุกๆปีในช่วงเดือนธันวาคม เป็นกีฬาสัมพันธ์ที่ทั้ง 9 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยต่างร่วมกันแข่งขันกีฬาและสลับกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน



ลำดับเจ้าภาพการแข่งขันกาญจนาเกมส์



ครั้งที่ 1 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อปี 2544

ครั้งที่ 2 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2545
ครั้งที่ 3 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ เมื่อปี 2546
ครั้งที่ 4 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ เมื่อปี 2547
ครั้งที่ 5 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เมื่อปี 2548
ครั้งที่ 6 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี เมื่อปี 2549
ครั้งที่ 7 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ เมื่อปี 2550
ครั้งที่ 8 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี เมื่อ ม.ค.ปี 2551
ครั้งที่ 9 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เมื่อ ธ.ค.ปี 2551
ครั้งที่ 10 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี เมื่อ ธ.ค.ปี 2552
ครั้งที่ 11 ได้จัดการแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ เมื่อ ธ.ค. ในปี 2553
ครั้งที่ 12 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ เมื่อ ม.ค. ในปี 2555
ครั้งที่ 13 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ เมื่อ ก.พ. ในปี 2556
ครั้งที่ 14 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ฉะเชิงเทรา เมื่อ ม.ค. ในปี 2557
ครั้งที่ 15 ได้จัดแข่งขัน ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี เมื่อ ธ.ค. ในปี 2557






    

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิทยาศาสตร์คืออะไร

วิทยาศาสตร์คืออะไร



        วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลจากการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การอุตสาหกรรม และการกีฬา เป็นต้น การพัฒนาให้บุคคลมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม ช่วยให้มนุษย์มีพัฒนาการและเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและจิตใจ การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้จะทำให้มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของวิทยาศาสตร์ ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ 




ความหมายของวิทยาศาสตร์ 




       จากพจนานุกรม “Webster’s New World Dictionary of American Language” ให้ความหมายคำว่า “Science” ไว้ดังนี้ 



1. สภาพหรือข้อเท็จจริงของความรู้ 



2. ความรู้เป็นระบบซึ่งได้จากการสังเกต ศึกษาและทดลองเพื่อให้รู้ธรรมชาติหรือหลักเกณฑ์ของสิ่งที่ทำการศึกษานั้นๆ 



3. สาขาหนึ่งของวิทยาการหรือการศึกษา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสร้างและการจัดระบบของข้อเท็จจริง หลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งมีการตั้งสมมติฐานและการทดสอบโดยการทดลอง 





       ธีระชัย (2540) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเรื่องราวของปรากฏการณ์ธรรมชาติและแสวงหากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงหมายรวมถึง เนื้อหาสาระของความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ การคิดอย่างมีระเบียบวิธี รวมทั้งวิธีการที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 





       Sund (1964) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างเป็นระบบ รวมทั้งองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการหรือวิธีการเสาะแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ 





       วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ อย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ รวมทั้งกระบวนการที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Body of scientific knowledge) วิธีการทางวิทยาศาสตร์(Scientific method) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills) และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific attitude) หรือจิตวิทยาศาสตร์ (Scientific mind)